ผลงานวิจัยจากศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Academy of Dermatology (J Am Acad Dermatol. 2021;85:1194-1200)

ผลงานวิจัยนี้จะย้ําเตือนให้แพทย์ทั่วโลกตระหนักถึงความสําคัญในการส่งต่อผู้ป่วยที่มีปานแต่กําเนิดทั้ง 3 ชนิดดังชื่อที่ปรากฏในชื่องานวิจัยเพื่อรับการตรวจทางจักษุวิทยาอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องตลอดชีวิต ปานบนใบหน้าทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นอาการแสดงสําคัญที่เป็นเสมือนสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติที่อาจเกิดในดวงตาข้างเดียวกับตําแหน่งของปาน ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของโรคต้อหินที่พบร่วมกับปานทั้ง 3 ชนิดนี้บนใบหน้ายังมีไม่มากและ ความสําคัญนี้มักถูกมองข้าม ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรายงานแบบ Individual case report หรือ Case series โดยเฉพาะโรคปานโอตะ (Nevus of Ota) ซึ่งพบบ่อยเฉพาะในชาวเอเชีย การตรวจคัดกรองและการเฝ้าระวัง โรคต้อหินโดยการตรวจทางจักษุวิทยาเป็นประจําจะทําให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันเวลาและสามารถป้องกัน ภาวะต้อหินซึ่งอาจทําให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้ ผลกระทบสําคัญของงานวิจัยนี้ที่ส่งผลต่อการดูแลรักษา ผู้ป่วยมี 3 ประการหลักได้แก่
1. ทําให้แพทย์ทั่วโลกตระหนักถึงความสําคัญในการแนะนําและส่งต่อผู้ป่วยที่มีปานบน ใบหน้าทั้ง 3 ชนิดนี้เพื่อการตรวจคัดกรองโรคต้อหินซึ่งในที่สุดคือช่วยป้องกันการสูญเสีย การมองเห็นของผู้ป่วยได้
2. งานวิจัยนี้แนะนําว่าผู้ป่วยที่มีปานบนใบหน้าทั้ง3ชนิดดังกล่าวควรได้รับการตรวจทาง จักษุวิทยาอย่างสม่ําเสมอตลอดชีวิตเพราะข้อมูลจากรายงานนี้พบผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคต้อ หินเมื่ออายุมากขึ้นจากการติดตามการตรวจอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยส่วน ใหญ่มักได้รับคําแนะนําให้หยุดการตรวจคัดกรองหลังจากตรวจไม่พบความผิดปกติ ต่อเนื่องกัน 2-3 ปี
3. ข้อมูลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปานแดง (Port-winestains) บริเวณหน้าผาก และรอบดวงตามีความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินสูงสุด และเสนอให้แพทย์มีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ