ปานมองโกเลียน (Mongolian Spot)

ลักษณะ :

เป็นปานแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะเป็นผื่นราบ มีสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงิน พบบ่อยที่บริเวณก้นและสะโพก อาจพบเพียงหนึ่งหรือหลายรอยโรค

อายุที่เริ่มเห็น :

พบได้ตั้งแต่แรกเกิด

การดำเนินโรค :

ขนาดของปานอาจขยายใหญ่ขึ้นได้ภายในอายุ 1-2 ปี จะเข้มสุดช่วงอายุ 1 ปี และสีมักค่อย ๆ จางลงเมื่อเข้าวัยเด็ก แต่ประมาณร้อยละ 25 ที่ปานชนิดนี้จะคงอยู่หลังอายุเกิน 5 ปี

อาการที่พบร่วมในระบบอื่นของร่างกาย :

ไม่มี

วิธีการรักษา :

ปานชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตามรอยโรคที่ไม่จางหายไปสามารถใช้เครื่องสำอางในการปกปิดปาน ในปัจจุบันการรักษาด้วยเลเซอร์ยังไม่ได้ผลดีสำหรับปานชนิดนี้

ข้อควรระวัง :

หากมีปานมองโกเลียนจำนวนมาก ร่วมกับปานแดงบางชนิด หรือพบปานมองโกเลียนร่วมกับพบความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น พัฒนาการช้า พัฒนาการถดถอย ลมชัก อาจสัมพันธ์กับโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น โรคที่มีการสะสมของสารในไลโซโซมผิดปกติ (Lysosomal storage disorder)

เอกสารอ้างอิง

1. Kang S. Fitzpatrick’s dermatology. 9th ed: New York : McGraw-Hill Education; 2019. p. 1351-89.
2. Cordova A. The Mongolian Spot:A Study of Ethnic Differences and a Literature Review. Clinical Pediatrics. 1981;20(11):714-9.
3. Jacobs AH, Walton RG. The Incidence of Birthmarks in the Neonate. Pediatrics. 1976;58(2):218-22.
4. รัตนาวลัย นิติยารมย์. รอยโรคแต่กำเนิด (Birthmarks). In: วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์, รัตนาวลัย นิติยารมย์, editors. โรคผิวหนังเด็ก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด; 2563. p. 63-91.